Posts

Foo Fighters: Medicine at Midnight (Review)

Image
  ยังคงสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆไม่หยุดหย่อน สำหรับ Dave Grohl และคณะ ที่นับวันจะหาเรื่องท้าทายแฟนเพลงอยู่เรื่อยๆ กับในอัลบั้มล่าสุด Medicine At Midnight นี่ก็เช่นกัน ที่นึกสนุกไปรับเอาอิทธิพลของ David Bowie จากอัลบั้ม Let’s Dance , ดนตรี Disco Rock, Dance Rock มาเป็นหลอมรวมกับตัวตนของ FF ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักในการทำอัลบั้มของพวกเขา ดังที่ปรากฎอยู่ในทุกอณู ไม่ว่าจะเป็นเพลงอย่าง Making A Fire ที่เน้นขายความโจ๊ะมากกว่าจะเกรี้ยวกราดในแบบที่เคยถนัด ยิ่งมาเจอกับคอรัสเมโลดี้สุดติดหูทำให้เพลงนี้ฟังค่อนไปทางสนุกมากกว่า , Shame Shame ซอฟท์ร็อคจังหวะเนิบนาบ ริฟฟ์สุดยียวนย้ำไปมา ใช้เนื้อร้องเป็นตัวขับเคลื่อนเป็นหลัก , Cloudspotter แดนซ์ร็อคที่ไม่ได้หาฟังกันง่ายๆในเทรนด์ดนตรีสมัยปัจจุบัน บีทเด้งๆแอบนึกถึง The Rolling Stones ขึ้นมาได้บ้างเหมือนกัน , Waiting On a War บัลลาดฮาร์ดร็อค ที่นำร่องด้วยอะคูสติกกีตาร์ใสแจ๋วเป็นตัวดำเนิน มีเมโลดี้ติดหูตีคู่กันไป ก่อนที่จะไม่ลืมกำพืดเดิมด้วยการเร่งสปีดเป็นร็อคแบบเต็มสูบไม่มีกั๊ก ซึ่งช่วงวัยรุ่นพวกเขาก็ชอบใช้มุกแบบนี้และมันก็ยังคงได้ผลที่น่

Weezer: OK Human (Review)

Image
เรียกได้ว่าคึกกันเกินวัยจริงๆสำหรับวงอัลเทอร์เนทีฟจอมเนิร์ดที่อยู่ในวงการกันมาอย่างยาวนานอย่าง Weezer ซึ่งอันที่จริงตามกำหนดเดิมพวกเขามีแผนจะวางอัลบั้ม Van Weezer ก่อนหน้าอัลบั้มนี้ แต่ทางวงให้เหตุผลเนื่องจากผลกระทบจาก COVID-19 จึงขอเลื่อนงานชุดนั้นออกไปก่อน แต่ ( อีกที ) สันนิษฐานว่าพวกเขาคงเครียดกับสถานการณ์โรคระบาดจนทำไปทำมาได้อัลบั้ม OK Human ขึ้นมาอีกอัลบั้มและจัดการเอามาปล่อยให้ฟังลัดคิวกันซะอย่างนั้นเฉยเลย ( เอ้อ เอากะพวกพี่เขาสิ ) โดยที่งานชุดนี้เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 14 ก็ไม่วายที่ชื่ออัลบั้มดันไปล้อกับ OK Computer ของวงชื่อดังอย่าง Radiohead เสียอีก หาก OK Computer เป็นการหวาดวิตกต่อเหตุการณ์อนาคต ( ซึ่งในขณะนั้นคือเรื่องของ Y2K) แต่กับ OK Human คือการย้อนกลับไปหาอดีตโดยผ่านวิธีการทำดนตรีแบบเก่าๆที่ว่ากันว่าพวกเขาใช้เครื่องดนตรีในการอัดเสียงที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าให้น้อยที่สุด ซึ่งแน่นอนเราคงต้องจำใจยอมรับว่าจะไม่ได้ยินกีตาร์เสียงแตกแรงๆสนุกๆแม้เพียงสักแอะเดียว และกลับกันทุกสรรพเสียงที่เราจะได้ยินกลับมาจาก เปียโน อะคูสิกกีตาร์ และบรรดาเครื่องสายกว่า

TIDAL Music Streaming: Review

Image
ถึงเวลานี้ก็ยังไม่สามารถปฏิเสธไม่ได้อยู่ดีว่าการฟังเพลงจากช่องทาง Streaming นั้นมีความสะดวกสบายและเข้าถึงได้ง่ายกว่าแพลตฟอร์มใดๆค่อนข้างมาก และค่าบริการก็ถูกมากหากเทียบกับสิ่งที่ได้รับ และในวันนี้ผมมีอีกหนึ่งบริการมานำเสนอ ซึ่งคิดว่าคงได้รับความนิยมในอนาคตอันใกล้ ถึง Tidal เองจะเปิดให้ใช้งานมาสักพักใหญ่แล้วแต่ก็ต้องยอมรับว่ายังมีความนิยมในวงกว้างที่ยังสู้เจ้าอื่นๆไม่ได้ ทั้งในส่วนของราคาที่ค่อนข้างสูงและจำนวนเพลงที่ยังมีให้เลือกน้อย แต่สำหรับนักฟังหูทองนี่คือช่องทางให้คนกลุ่มนี้ได้ฟินกันตายตาหลับ เพราะนี่คือ Music Steaming ที่มีคุณภาพไฟล์สูงมากจนซีดีก็ยังเทียบไม่ได้ โดยทาง Tidal เคลมว่ามีให้เลือกความละเอียดตั้งแต่ High = AAC 320kbps, HiFi = CD Quality และ Master ที่ว่ากันว่าถึงระดับ Studio Quality เลยทีเดียว แน่นอนครับว่าหากเห็นข้อมูลตัวเลขเหล่านี้ ความคาดหวังย่อมสูงตามไปด้วยซึ่งแนวโน้มก็เน้นเรื่องคุณภาพเสียงเป็นหลัก ขนาดที่ว่าคนที่ไม่ใช่หูเทพหูทองก็สามารถฟังและแยกแยะออกได้ไม่ยากเท่าไรนัก ( จะเห็นชัดมากขึ้นหากมีชั่วโมงบินในการฟังมาสักหน่อย ) ยกตัวอย่างเพลงของวง Lin

Best Album of 2020

Image
  What the Dead Men Say: Trivium อัลบั้มล่าสุดของ โมเดิร์น แธรช-เมทัลคอร์ ที่ยังคงประกาศศักดาความเป็นตัวจริง กับการได้มือกลองระดับเทพ Alex Bent ที่ทำให้ซาวด์ของพวกเขาโลดแล่น โดดเด่น เหนือชั้นกว่าวงร่วมรุ่นอยู่หลายขุมนัก และพวกเราเกือบจะได้ยลฝีมือให้เต็มสองตากันแล้ว ถ้าไม่เจอพิษโรคระบาดเล่นงานจนแฟนๆฝันค้างตามๆกัน Facing Death By Now: Torrayot ไซต์โปรเจ็กต์จาก อู๋ นักร้องนำ The Yers อัดแน่นไปด้วยกำแพงแห่งความมืดมนแบบที่ไม่มีวันได้ยินในงานของ The Yers เป็นแน่ ยืนพื้นด้วยซาวด์แบบ Doom Metal, Shoegazer ทะมึนหม่นหมองกันตลอดทั้ง 10 เพลงจนจบอัลบั้ม Transitional Forms: Sharptooth Hardcore Punk ตัวเดือดที่ชื่อเสียงอาจไม่ได้เป็นที่รู้จัก พวกเขามีเวลาราวครึ่งชั่วโมงที่จะมอบความโกลาหล เกรี้ยวกราด โกรธแค้น แทบทุกเพลงมีความเป็นเนื้อเดียวกัน หมัดหนักพร้อมพุ่งทะยาน เป็นอีกอัลบั้มที่ใช้ฝ่าวิกฤตความเครียดจาก Covid-19 ได้เป็นอย่างดี Words: The Darkest Romance เมทัลลูกผสมฝีมือเหนือชั้น รังสรรค์ผลงานมาสเตอร์พีซต่อจาก Lessons อัลบั้มก่อนที่ได้รับการแซ่ซ้องทั้งในระดับ Mainstream และ Underground มาจนอัลบั้มล่า

PassCode: STRIVE (Review)

Image
นับตั้งแต่ BABYMETAL ได้รับกระแสความนิยมไปทั่วทั้งโลก วงการดนตรีที่ญี่ปุ่นก็ได้เริ่มมีวงลักษณะเดียวกันตามมาเต็มไปหมด และ PassCode วงนี้ก็เป็นหนึ่งในนั้น และการกลับมาพร้อมสตูดิโออัลบั้มลำดับที่สาม STRIVE ก็น่าจะยิ่งทำให้ชื่อเสียงกระฉ่อนขึ้นไปอีก เรียกได้ว่าถ้าจะหาวงไอดอล ร็อค - เมทัล โกอินเตอร์ตาม BABYMETAL ไปก็น่าจะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยครับ แต่จะว่าไปหากพิจารณาดีๆซาวด์ของ PassCode ก็ถือว่ามีเอกลักษณ์ชัดเจนมาตั้งแต่ช่วงแรกๆแล้ว พวกเขาขยำรวมดนตรีหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น Trance, Metalcore, Post-Hardcore, EDM รวมไปถึงการร้องติด Autotune เข้าไว้ด้วยกัน เหล่านี้ต้องให้เครดิตทีมนักแต่งเพลงส่วนนี้ไว้ด้วย From L-R: Kaede, Nao, Yuna, Hina SPARK IGNITION แทรนซ์คอร์บีทรวดเร็วหนักแน่น คอรัสติดหู เปลี่ยนคีย์กันให้วุ่น เสียงคำรามของ Yuna ในท่อนเบรคยังทำได้โหดเช่นเคย , Majestic ปูพรมด้วย EDM ตลอดทางมูฟเมนท์เปลี่ยนไปมา ค่อนข้างหลากหลายและอาจจะจับทางยากสักนิดสำหรับคนที่ไม่ได้ตามงานวงมาตั้งแต่แรก , Shedding tears ร็อคจังหวะโจ๊ะๆกันต่อเนื่อง เมโลดี้ติดป๊อปอย่างหนัก

Biffy Clyro: A Celebration Of Endings (Review)

Image
เผลอแป๊บเดียวก็เดินทางมาถึงอัลบั้มเต็มชุดที่ 8 แล้ว สำหรับวง Alternative Rock ลูกผสมสามชิ้นสุดเนี้ยบจาก Scotland อย่าง Biffy Clyro โดยที่พวกเขายังคงเซนส์ทางดนตรีเปี่ยมชั้นเชิงและทำออกมาได้ค่อนข้างป๊อปเอามากๆและฟังดูไม่เลี่ยนด้วย พิสูจน์กันได้ตั้งแต่แทร็คเปิดอัลบั้ม North Of No South ลิคคลีนกีตาร์คลอกับจังหวะชวนเคลิ้มก่อนจะอัดริฟฟ์กระแทกพอได้สะดุ้ง คอรัสอุ้มให้เพลงดูใหญ่ และปิดท้ายด้วยริฟฟ์จำง่ายติดเมทัลมันซะอย่างนั้น รวมๆคือเท่ , The Champ เริ่มด้วยบัลลาดเปียโนคลอด้วยเครื่องสาย ก่อนที่จะมาแบบเต็มแบนด์ในจังหวะชวนกระฉึกกระฉัก และคอรัสที่เลือกใช้โน้ตและเรียบเรียงได้ชวนล่องลอยสวยงาม , Weird Leisure ฮาร์ด - ร็อค ริฟฟ์เมาๆพาลนึกถึง Foo Fighters, Queens Of The Stone Age อยู่บ้าง ก่อนจะฉีกเข้าท่อนฮุคในแนวทางของตัวเองอย่างงดงาม , Tiny Indoor Fireworks ยังคงจังหวะสนุกๆท่วงทำนองสวยๆตามมาตรฐาน ลำพังแค่ท่อน Hey Hey Hey ก็เอ็นเตอร์เทนคนฟังได้มากแล้ว , Space คร่ำครวญกับเนื้อหากันแต่พองามกับการสลัดภาพวงร็อคมาเป็น ป๊อปร็อค - อาร์แอนด์บี ได้อย่างเหนือชั้น End Of ไลน์เบสดำดิ่งค

เมื่อจิตวิญญาณของอนาล็อกหวนคืน

Image
  จากการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีในการฟังเพลงมาหลายชั่วอายุคน   นับตั้งแต่ยุคของ  Vinyl, Cassette, CD, MP3  เรื่อยจนมาถึงการฟังเพลงผ่าน  Application  หรือที่เรียกกันว่า  Music Steaming  แทบไม่น่าเชื่อเลยว่าในโลกปัจจุบันที่หมุนไปเร็วอย่างในทุกๆวันนี้จะยังมีคนให้ความสนใจวิธีการฟังเพลงที่ว่ากันว่ายุ่งยากที่สุดอย่าง   แผ่นเสียง  (Vinyl)  ซึ่งมีกระแสอยู่ในคนจำนวนหนึ่งในช่วงหลายขวบปีหลังแบบเงียบๆและแนวโน้มมีท่าทีว่าจะเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆแบบหยุดไม่อยู่อีกด้วย สาเหตุที่ทำให้แผ่นเสียงกลับมาก็น่าจะด้วยความอยากเป็นเจ้าของ   การเก็บสะสม   คุณค่าทางใจ   สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบทำให้มันกลับมา   และไม่ใช่แค่กับแผ่นเสียงอย่างเดียวนะครับ   ขนาด  Casette  หรือที่เรามักเรียกกันติดปากว่า   เทป   ที่เคยเป็น  format  หลักก็ยังกลับมาในฐานะ  Rare Item  ที่มีราคาค่อนข้างสูงเสียด้วย   เลยกลายเป็นว่า  CD  เสียอีกที่กำลังจะโดนกลืนหายไปตามกาลเวลา  ( แต่คงต้องเว้นที่ญี่ปุ่นไว้สักที่ )  เพราะเท่าที่ดูจากกลุ่มขายแผ่นเพลงต่างๆนี่ดัมพ์ราคากันลงแบบน่าใจหาย   ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้แผ่นซีดีที่หายากๆหน่อยนี่ปั่นราคาก